Brand Identity คือประตูด่านแรก ที่ลูกค้าจะประเมินคุณค่าหรือตัดสินแบรนด์ของเราจากหน้าตา เจ้าของแบรนด์ควรที่จะศึกษาเรื่องนี้เพื่อที่จะเอาชนะใจลูกค้าให้ได้ตั้งแต่ครั้งแรก ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ องค์ประกอบของ Brand Identity กัน

Credit: Thai Airways
ยกตัวอย่างแบรนด์การบินไทย องค์ประกอบที่ทุกคนจะเห็น ได้แก่
- โลโก้
- สีของแบรนด์
- ฟอนต์หรือว่าตัวอักษร
- Shape Form หรือว่า Graphic ต่างๆ (บนหางเครื่องบิน บนสื่อต่างๆ)
- ภาพถ่ายที่สื่อถึงแบรนด์
พวกนี้คือ Brand Identity ที่ต้องออกแบบให้เป็นเอกลักษณ์และดูสอดคล้องกัน

Credit: AIS / True / Dtac
อีกตัวอย่าง คือค่าย เอไอเอส ทรู และ ดีแทค แต่ละค่ายนั้นก็จะมี Brand Identity ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน
เมื่อดูจากสีของแบรนด์ ก็สามารถบอกได้เลยว่าเป็นค่ายไหน ถึงแม้ว่าจะมี Presenter ที่ต่างกัน (ทุกคนชูนิ้วเป็นเลขหนึ่งเหมือนกัน) แต่ด้วยสีของโฆษณา กราฟิก ตัวหนังสือ ก็สามารถบ่งบอกอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของแต่ละแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
โลโก้ที่ดี ควรเป็นอย่างไร?

การออกแบบโลโก้ที่ดีควรคำนึงถึง
- ต้องจดจำได้ง่าย
- ต้องสอดคล้องกับสินค้าและบริการ
- ไม่ล้าสมัยไปตามเวลา
- มีความหมายในตัว
- ชัดเจนและนำไปใช้งานได้ง่าย
โลโก้ที่ไม่ดี เป็นอย่างไร?

- ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
- ดูแล้วอาจจะตีความหมายผิด
- ดูคล้ายกับแบรนด์อื่นจนเกินไป
- ดูไม่เข้ากับภาพลักษณ์ของแบรนด์
- รายละเอียดเยอะเกินไป นำไปใช้งานได้ยาก
Brand Color (สีของแบรนด์)
คุณจะเห็นได้ว่า แต่ละแบรนด์จะมีคู่สีที่ชัดเจน เช่น Netflix เป็นสี แดง ดำ Pepsi เป็นสีน้ำเงิน แดง PayPal เป็นสีน้ำเงินฟ้า Master Card เป็นสีแดง ส้ม การมีคู่สีของแบรนด์ที่ชัดเจนมากกว่า 1 สี ทำให้แบรนด์ถูกจดจำและสามารถแยกความแตกต่างได้มากกว่าการที่แบรนด์มีแค่สีเดียว
สีนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะจดจำแบรนด์ได้ง่ายที่สุด คำถามคือ แล้วคุณจะมีวิธีการเลือกสีของแบรนด์อย่างไร?

Credit: https://venngage.com/blog/brand-colors/
การเลือดสีนั้น แต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันตามหลักจิตวิทยา ยกตัวอย่างเช่น
- สีเหลือง สื่อถึงมิตรภาพ เช่น Mcdonals
- สีชมพู สื่อถึงความอ่อนหวาน เช่น Sanrio
- สีม่วง ให้ความรู้สึกหรูหรา เช่น การบินไทย หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์
- สีดำ ให้ความรู้สึกเข้มแข็ง แบรนด์กีฬานิยมใช้
- สีแดง เป็นสีที่ทรงพลัง แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังอย่าง Red Bull นำไปใช้
- สีส้ม แสดงถึงความเป็นมิตร เช่น Master Card
- สีเขียว แสดงความสดใหม่ เป็นธรรมชาติ เช่น แบรนด์น้ำผลไม้ Boost Juice
- สีน้ำเงิน แสดงถึงความน่าเชื่อถือและให้ความเป็นมืออาชีพ บริษัทเทคโนโลยี ประกันภัย ส่วนใหญ่นำไปใช้
- สีหลากสี แสดงถึงความครบวงจร เช่น Google Microsoft eBay
Typography (ตัวหนังสือ)
ตัวหนังสือของแบรนด์หรือบางคนเรียกว่า Font นั้นมีหลากหลายสไตล์ เรามีทำความรู้จักกับตัวหนังสือกันก่อนว่า มีสไตล์ไหนบ้าง โดยจะยกตัวอย่างมาให้ 4 สไตล์ คร่าวๆ ได้แก่

- ตัวหนังสือแบบคลาสสิก (Classic)
- ตัวหนังสือแบบโมเดิร์น (Modern)
- ตัวเขียนปากกาที่ดูหรูหรา (Elegant)
- ตัวลายมือที่ดูสนุก (Informal)
ตัวหนังสือแต่ละตัวจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน นำไปใช้กับประเภทของแบรนด์ที่ต่างกัน เช่น

ตัวหนังสือคลาสสิก เหมาะกับสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ความงาม หรือสินค้าราคาแพง

ตัวหนังสือโมเดิร์น เหมาะกับสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือ สินค้าเทคโนโลยี สมัยใหม่ สินค้ากีฬา

ตัวหนังสือตัวเขียน เหมาะกับสินค้าแฟชั่น สินค้าความงาม งานปราณีต งานฝีมือ และสินค้าที่ราคาแพง หรูหรา

ตัวหนังสือลายมือ เหมาะกับสินค้าอาหารครื่องดื่ม สินค้าวัยรุ่น สินค้าที่เน้นความสนุกสนาน
ตัวหนังสือแต่ละแบบจะให้ความความรู้สึกแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะเลือกตัวหนังสือ คุณก็ต้องรู้ว่าแบรนด์คุณมีกลุ่มลูกค้าประเภทไหน คุณขายอะไร แล้วก็เลือกใช้ตัวหนังสือให้เหมาะสมกับสินค้านั้นๆ
ติดตามเรื่องราวสนุกๆ ความรู้ ของธุรกิจ แบรนด์ และการออกแบบกับ Business Hole in One มีเรื่องราวดีๆ มาให้อ่านกันทุกสัปดาห์